สื่อการเรียนรู้ ศิลปะ ดนตรี การแสดง

ศิลปะ ดนตรี การแสดง





ศิลปะ เป็นกิจการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ แสดงออกจากความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์จากมโนภาพที่ได้จากความจริงหรือจินตนาการที่คิดฝันขึ้น โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในอุดมการณ์นั้น งานศิลปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้ปัญญาอันสูง ส่ง จนมีความเชื่อกันว่ามนุษย์เท่านั้น เป็นผู้มีสติปัญญา จนถึงขั้นที่สามารถแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้วัสดุและเครื่องมือ การสร้างสรรค์ให้มีคุณค่าทางความงาม เช่น การก่อสร้างที่พักอาศัย การก่อสร้างโบราณวัตถุและโบราณสถาน
เป็นการแสดงออกของ มนุษย์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะจึงเกิดจากมูลเหตุที่ว่ามนุษย์ได้รับรู้ใน ความงามของธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปแบบลักษณะพื้นผิว สีและสัดส่วน มนุษย์จะมีความชื่นชมในความงามที่ตนสร้างขึ้นจนเกิดความพอใจในและประทับใจใน สิ่งที่ตนสร้างขึ้นมา เช่น จิตรกรจะแสดงความรู้สึกพอใจเมื่อสามารถเขียนภาพได้ดี จะมีคนชื่นชมต่อผลงานนั้นของตนที่สามารถทำให้ผู้อื่นเกิดความรูสึกพอใจในผล งานของตนได้







          ศิลปะ ( Art) ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และชื่นชมในความงาม มนุษย์มีการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม เป็นเผ่าพันธุ์ แล้วค่อย ๆ ขยายเผ่าพันธุ์ออกไปเป็นชาติ บ้านเมือง ที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
        1. ด้านทัศนศิลป์ (Visual art) หมายถึงศิลปะที่มองเห็น หรือ ศิลปะที่สัมผัสได้ จับต้องได้และรับรู้ชื่นชมได้ด้วยการเห็น ได้แก่ จิตรกรรม (Painting) ประติมากรรม (Sculpture) และสถาปัตยกรรม (Architecture)
       2. ด้านโสตศิลป์ (Audio art) หมายถึงศิลปะที่สัมผัสได้ ด้วยการรับฟัง ผ่านประสาทหู ได้แก่ ดนตรี (Music) และนาฏศิลป์ (Drama)  

อิทธิพลที่ทำให้ศิลปะแตกต่างกัน
การสร้างงานศิลปกรรมของมนุษย์แต่ละชาติแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เพราะอิทธิพลต่าง ๆ ดังนี้
1.       สภาพทางภูมิศาสตร์
2.       สภาพทางประวัติศาสตร์
3.       สภาพทางสังคม
4.       ปรัชญา และศาสนา
5.       วัสดุก่อสร้าง
6.       สกุลศิลปะ

















        ดนตรีและนาฏศิล ประกอบด้วย ร้อง รำ ดนตรี คือศิลปะที่เรียนมาทางดนตรี และนาฏศิลป์ ซึ่งได้แก่ ดนตรีไทย ดนตรีสากล ขับร้อง ฟ้อนรำ การแสดงเพลงพื้นบ้าน

หลักการของโสตศิลป์
       1. เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์
       2. วิเคราะห์ วิจารณ์ คุณค่า การถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่อดนตรี อย่างอิสระ
       3. นำเอาความรู้ทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
      4. ความเข้าใจในความเป็นมาของดนตรีที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
       5. เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์
      6. วิเคราะห์ วิจารณ์ คุณค่า การถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่อนาฏศิลป์ อย่างอิสระ
       7. นำเอาความรู้ทางนาฏศิลป์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
      8. ความเข้าใจในความเป็นมาของนาฏศิลป์ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น 


ดนตรี เครื่องดนตรี คือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้บรรเลงให้มีเสียงดังเป็นทำนองเพลง ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน  การแบ่งเครื่องดนตรี โดยอาศัยอากัปกิริยาในการบรรเลง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
            1. เครื่องดนตรีประเภทดีด
            2. เครื่องดนตรีประเภทสี      
3. เครื่องดนตรีประเภทตี
            4. เครื่องเป่า
            5. วงมโหรี

เครื่องดนตรีสากล แบ่งออกได้เป็น  3 ประเภท คือ
            1. ดนตรีพื้นเมือง หรือดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music)
            2. ดนตรีแบบฉบับ (Classical Music)
            3. ดนตรีสมัยนิยมหรือ ชนนิยม (Popular Music)

เครื่องดนตรีสากล  แบ่งออกเป็น  5 ประเภท คือ  
       1. ประเภทเครื่องสาย (The String Instruments) ทำมาจากสายโลหะ และสายเอ็น
            1.1 จำพวกเครื่องสายแบบดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลีน ฮาร์ป
            1.2 จำพวกเครื่องสายสี ใช้คันชัก ได้แก่ ไวโอลีน วิโอล่า ดับเบิลเบส
       2. ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ (The Woodwind Instruments) มี 2 ประเภท คือ
           2.1 ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ ฟลุท ปิคโคโล เรคอเดอร์
           2.2 ประเภทเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเนท แซกโซโฟน โอโบ บาสซูน
       3. ประเภทเครื่องเป่าโลหะ (The Brass Instruments) เป่าผ่านริมฝีปากไปปะทะช่องที่เป่า ได้แก่ คอร์เน็ท ทรัมเป็ต เฟรนซ์ฮอร์น ทรอมโบน แบริโทน ยูโฟเนีม ทูบา ซูซาโฟน
       4. ประเภทคีย์บอร์ด (The Keyboard Instruments) มีลิ่มนิ้วเรียงกันเป็นแผง  =    ได้แก่ เปียโน ออร์แกน  อิเล็กโทน  แอ็คคอร์เดียน  คีย์บอร์ดไฟฟ้า
       5. ประเภทเครื่องตี (The Percussion Instruments) แบ่งเป็น  2 กลุ่ม คือ
           5.1 เครื่องตีนำทำนอง (Molodic Percussion) ได้แก่ โซโลโฟน เบลไลลา ระฆังราว
          5.2 เครื่องตีทำจังหวะ (Rhythmic Percussion) ได้แก่ กลอง บองโกส์ ทอมบา ฉิ่ง ฉาบ กรับ ลูกแซก กลองชุด ความไพเราะของเพลง มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ เพลงขับร้อง กับเพลงบรรเลง เพลงบรรเลง เป็นเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีล้วน ๆ เช่น เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์เพลงขับร้อง เป็นการร้องประกอบดนตรี คือ ร้องและมีดนตรีรับ เช่น เพลงเถา เพลงตับเพลงที่เราได้รับฟังกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ เพลงไทย และ เพลงไทยสากล
          
นาฏศิลป์ไทย  เป็นการแสดงท่าทาง โดยการร่ายรำ ซึ่งตามปกติจะใช้ดนตรีและการขับร้องประกอบอยู่ด้วย เช่น ระบำ รำฟ้อน เซิ้ง ละคร  โขน
         1. ระบำ การแสดงท่าทางรำพร้อมกันเป็นหมู่ เป็นชุด ไม่มีการดำเนินเรื่อง เช่น ระบำไก่ ระบำเทพบันเทิง ระบำศรีวิชัย ระบำดอกบัว  
         2. รำ เป็นการแสดงท่าทางด้วยวงแขน มือที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นการแสดงคนเดียวหรือหมู่ เช่น รำศรีนวล รำแม่บท รำโคม
          3. ฟ้อน เป็นการรำแบบพื้นเมืองของภาคเหนือด้วยลีล่าที่ค่อนข้างจะเชื่องช้า แต่งกายแบบพื้นเมือง เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว
          4. เซิ้ง ศิลปะการร่ายรำแบบพื้นเมืองภาคอีสาน ใช้จังหวะเร็ว สนุกสนาน ได้แก่ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ เซิ้งบั้งไป (นำขบวนแห่บั้งไฟ)          
         5. ละคร เป็นศิลปการแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราวเป็นตอน ๆ ตามลำดับ ประกอบด้วย บทร้อง รำ ทำท่าทาง บทเจรจา ใช้ดนตรีประกอบการแสดง มีการจัดฉากให้สอดคล้องกับเรื่องราว ได้แก่
             5.1 ละครชาตรี เป็นต้นแบบของละครรำ ใช้ผู้แสดง 3 คน มีวงปี่พาทย์บรรเลง
             5.2 ละครนอก เป็นกระบวนการร้องรำที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว เรื่องตลกขบขัน มีวงปี่พาทย์บรรเลง เดิมผู้ชายแสดง ปัจจุบันผู้แสดงเป็นชาย-หญิง
             5.3 ละครใน มุ่งเน้นศิลปะการร่ายรำเป็นสำคัญ ยึดระเบียบประเพณี ใช้เพลงไพเราะ ไม่นิยมตลกขบขัน ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน    
            5.4 ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่ผู้แสดงร้องเอง รำเอง เจรจาเอง มีการแต่งกาย มีฉากประกอบตามเนื้อเรื่อง มีวงดนตรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
            5.5 ละครพันทาง เป็นละครแบบผสม ทำเอาศิลปการแสดง ท่าทางของชาติอื่นมาผสมกับศิลปะของไทย แต่งกายตามเนื้อเรื่อง แบ่งการแสดงออกเป็นชุด  
            5.6 ละครร้อง ใช้การร้องเป็นหลัก ดำเนินเรื่อง ไม่มีรำ ใช้ท่าทางประกอบการแสดง  
            5.7 ละครพูด เป็นละครสมัยใหม่ ใช้การพูดดำเนินเรื่องแทนการร้อง
        6. โขน  เป็นศิลปการแสดงของไทย รูปแบบหนึ่ง มีทั้งการรำ การเต้น ออกท่าทางเข้ากับดนตรี ผู้แสดงสมมุติเป็นตัวยักษ์ ตัวลิง เทวดา ตัวพระ ตัวนาง โดยสวมหน้า เรียกกันว่า หัวโขนผู้แสดงไม่ต้องร้อง จะมีผู้พากย์และร้อง ซึ่งเรียกว่า ตีบทเรื่องที่นำมาแสดง คือ เรื่องรามเกียรติ์ โขนมี 5 ชนิด คือ
            โขนกลางแปลง  โขนโรงนอก (โขนนั่งราว)
            โขนโรงใน  โขนหน้าจอ  โขนฉาก  

รำวงมาตรฐาน 
          เป็นการเล่นที่ประยุกต์มาจากรำวงพื้นเมืองหรือรำโทน ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้จัดระเบียบของการรำเพื่อให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพลงต่าง ๆที่ใช้ในการรำจะมีความสัมพันธ์ท่ารำ ได้แก่
          -         เพลงงามแสงเดือน           ท่ารำสอดสร้อยมาลา
          -         เพลงชาวไทย                 ท่ารำชักแป้งผัดหน้า
          -         เพลงรำมาซิมารำ             ท่ารำ รำส่าย
          -         เพลงคืนเดือนหงาย          ท่ารำสอดสร้อยมาลาแปลง
          -         เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ      ท่ารำแขกเต้าเข้ารัง และผาลาเพียงไหล่
          -         เพลงดอกไม้ของชาติ        ท่ารำยั่ว
         
การแสดงเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นเมือง การแสดงหรือการละเล่นของในแต่ละท้องถิ่น จะแฝงเอาไว้ด้วยศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และจิตใจของคนแต่ละท้องถิ่น

ประเภทของการแสดงท้องถิ่น
        1. เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่ชาวบ้านคิดคำร้องและท่าทางในการแสดงตามวิถีชีวิตในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้แก่ เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว ลำตัด เพลงเทพทอง เพลงโคราช เพลงบอก เพลงแคน เพลงหมอลำ ฯลฯ
        2. รำพื้นเมือง คือ ระบำ รำ ฟ้อนที่กำเนิดมาจากถิ่นต่าง ๆ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนภูไท รำวง รำกลองยาว รำศรีนวล   

การแสดงเพลงพื้นบ้าน ภาคต่าง ๆ 
        1. เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลงฉ่อย ฯลฯ นิยมเล่นกันในเทศกาล ตรุษ สงกรานต์ สารทไทย การแต่งกายผู้แสดงจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อสีลายดอก
        2. การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ด้วยท่วงท่าลีลากรีดกราย นุ่งผ้าสิ้น ห่มสไบ เกล้าผมมวยทรงสูง สวมเล็บยาวทั้ง 4 นิ้ว
        3. การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ เซิ้งบั้งไฟ หมอลำ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ การแสดงไม่มีแบบแผน เป็นรำ ทำท่าทางที่สนุกสนาน นำขบวนแห่บั้งไฟ การแต่งกายนุ่งผ้าสิ้น เสื้อแขนกระบอก ชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดพุง
        4. การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่ โนรา หนังตะลุง เพลงบอก การแสดงโนรา แต่งกายนุ่งผ้าสนับเพลา มีสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง ผ้าห้อยหน้า จีบหางหงส์ กำไลต้นแขน ปลายแขน ส่วนหนังตะลุง ใช้คนเป็นผู้เชิดตัวหนังที่ทำด้วยหนังวัว หนังควายขูดจนบาง แกะสลัก ระบายสีสวยงาม มีทั้งตัวพระ ตัวนาง ฤษี ตัวตลก ปราสาทราชวัง ฯลฯ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดงหนังตะลุง ได้แก่ ทับ 2 ลูก ฆ้องคู่ ปี่ ซอ กลองตุ๊ก ฉิ่ง และกรับ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เครื่องดนตรีสากลด้วย    


http://sittichai-joey.blogspot.com/2016/08/anime-studio-debut-v9-v10-v11-v12.html







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น