วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูง (The 7 HABITS of Highly Effective People)



The 7 HABITS of Highly Effective People
7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูง

อุปนิสัย คือ  สามัญสำนึกที่ได้รับการฝึกฝน และการพัฒนาตนอย่างสม่ำเสมอ

วงจรวุฒิภาวะ แบ่งเป็น 3 ระดับ
1.       ระดับของการพึ่งพาผู้อื่น (ต่ำ) คือ การพึ่งพาผู้อื่น เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ คิดถึงแต่ผู้อื่นว่าจะทำอะไรให้เราได้บ้าง เช่น คูณต้องดูแลฉัน คุณต้องทำให้ฉัน ทุกสิ่งทุกอย่างคุณต้องทำให้ฉัน ถ้าไม่ทำฉันจะโทษคุณ
2.       ระดับของการพึ่งพาตนเอง (กลาง) คือ จะเป็นที่ยอมรับต่อบุคคลภายนอก  เช่น ทำทุกอย่างเองได้ มีความรับผิดชอบ เชื่อมั่นในตนเอง และเลือกได้
3.       ระดับพึ่งพาซึ่งกันและกัน (สูง) คือ คนที่อยู่ในระดับนี้จะคิดว่าพวกเราเสมอ เพราะนี้คือรูปแบบที่สนับสนุนให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็น และช่วยกันสร้างความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน สามารถช่วยกันสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้
v : หากคุณและผมไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ก็จะไม่สามรถพึ่งพากันและกันได้

หลักการ คือ กฎธรรมชาติ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ตอนเรียนหนังสือไม่ได้สนใจเรียนเลย แต่ยามตอนสอบต้องมานั่งอดหลับอดนอน ไม่มีใครได้ดีจากเหตุการณ์นี้ เราไม่ได้เป็นคนควบคุมทุกสิ่ง ทุกๆอย่างย่อมมีหลักการซึ่งเป็นตัวในการควบคุม และเป็นไปตามหลักการ บ่อยครั้งที่เราได้ยินในสังคมทั่วไป คือ เราต้องควบคุมมันให้ได้ หรือคุณคือผู้กำหนดชะตาชีวิตของคุณเอง ในคำพูดเหล่านี้ แท้จริงแล้วคุณไม่ได้เป็นผู้ควบคุม  แต่หลักการต่างหากที่เป็นผู้ควบคุม ถ้าเรายอมรับและทำตามหลักการ นั้นแหละคือความหมายของการควบคุม

สุภาษิต ชาวตะวันออก : ให้ปลาแก่เขาตัวหนึ่ง เท่ากับให้อาหารกับเขาวันนั้น แต่ถ้าสอนให้เขาตกปลาเท่ากับ ให้อาหารกับเขาตลอดชีวิต

กรอบความคิด เกิดจาก ค่านิยม อุปนิสัย ซึ่งจะอยู่ภายใต้ของหลักการ เป็นตัวกำหนดภาพจากความคิดที่คุณมีอยู่ในใจ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และภูมิหลังของเราเอง คนเรามองโลกในสิ่งที่เราเป็น จากความคาดหวังบางสิ่งบางอย่างจากสิ่งต่างๆ  ในความจริงภายนอกและทำให้เราคิดว่า สิ่งต่างๆ มันเป็นแบบนั้น  สรุปคือ กรอบแนวคิดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จงจำไว้ว่า เมื่อบทบาทเปลี่ยน มุมมองของโลกนี้ก็เปลี่ยนไปด้วย (เมื่อเป็นผู้นำ หรือเมื่อได้ค้นพบตัวเอง)

ประสิทธิผลของความสำเร็จ  คือ ความมีพร้อมทุกอย่าง
1.       การได้ในสิ่งที่ต้องการ
2.       การได้รับในแบบที่คุณต้องการอย่างต่อเนื่องอย่างครั้งแล้วครั้งเล่า เราเรียกสิ่งนี้ว่าความสมบูรณ์ของสิ่งที่ได้รับ ทุกๆอย่างต้องใช้เวลา ความอดทน ความพยายาม ความเอาใจใส่ และเงินด้วย

หลักแนวความคิด  ทุกคนต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นคนล้าหลัง ถ้าเราไม่พยายามหาความรู้เพิ่มเติมในการพัฒนางานในสายงานที่เราทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะต้องรู้ในสิ่งที่ตนต้องทำ หรือไม่ควรระเลยปล่อยวาง ทุกๆ สิ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
 
7 อุปนิสัย เกิดจากองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ความรู้ ทักษะ และความปรารถนา
1.       ความรู้จะเป็นส่วนของภาคทฤษฎี คือ เราจะทำอะไร และทำไมเราถึงทำสิ่งนั้น
2.       ทักษะจะเป็นส่วนของภาคปฏิบัติ คือ เราจะทำสิ่งนั้นอย่างไร
3.       ความปรารถนา เป็นเรื่องของแรงจูงใจ เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นจริง

คติเตือนความจำ จงจำไว้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ สิ่งที่สำคัญต้องเอาชนะตัวเองให้ได้ ในทุกๆวัน ต้องแรกมาด้วยความพยายามอย่างนัก ต้องมีความอดทนอย่างสูง ต้องมุ่งมั่น และฝึกฝนตลอดเวลา เพื่อให้สามรถเก็บเกี่ยวผลลัพธ์อันงดงาม ที่เกิดจากอุปนิสัย เหล่านี้
อุปนิสัยที่ 1
เป็นคน Pro-Active

คือ อุปนิสัยของการมีสติ ในการควบคุมตัวเอง ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับคุณ รวมถึงเรื่องของความรู้สึก อารมณ์ หรือแม้แต่เรื่องของพันธุกรรมที่คุณถูกถ่ายทอด

พื้นฐานที่สำคัญ
              1.       การมีความรับผิดชอบ โดยมีแนวคิดของการเลือกตอบสนอง  คือ ต้องมีความรับผิดชอบต่อการตอบสนองของสิ่งต่างๆ  เพราะในแต่ละวันมีหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาทดสอบในชีวิตของเรา ถ้าเราสามารถยอมรับ รับมือจากความล้มเหลวได้ หรือสามารถรับมือจากสิ่งต่างๆได้  ก็จะประสบผลสำเร็จในสิ่งนั้นๆ เช่นเดียวกัน
              2.       อิทธิพลที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต การที่จะความควบคุมต่ออิทธิพลที่เกิดขึ้นได้  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะต้องมีความอดทน พยามยาม  มุงมั่น  เพื่อให้ชีวิตผ่านไปให้ได้

อุปนิสัยที่ 2
เริ่มต้นด้วยจุดมั่งหมายในใจ

คือ การมีวิสัยทัศน์ ส่วนตน  ซึ่งหมายถึงการมีวิสัยทัศน์หรือความรู้สึกส่วนตน สามารถเลือกจากค่านิยมพื้นฐานส่วนตนเอง ต้องมีภาวะผู้นำ ในการเป็นส่วนตัวในชีวิตในการทำงานของคุณ เป้าหมายของตน

สิ่งที่ทำให้ขาดของอุปนิสัยที่ 2  การขาดซึ่งการสร้างทางจิตใจ  ปราศจากปณิธาน  ไม่มีการสร้างวิสัยทัศน์ ถึงภาพในอนาคตอนาคต มีเพียงแค่ปล่อยให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับชีวิต ไม่มีการมุ่งเน้น เป็นการเริ่มต้นโดยปราศจากเป้าหมายที 
         1. เฉพาะเจาะจงในใจ 
         2. การสร้างทางจิตใจ  
         3. การสร้างทางกายภาพ

การเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ คือการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต การตัดสินใจในครั้งนี้ จะมีผลต่อการตัดสินใจต่อสิ่งอื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่

การกำหนดเส้นทาง อะไร คือ หลักการที่ฉันต้องใช้ในการดำเนินการชีวิต สิ่งใดที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง อะไร เป็นสิ่งที่กำหนดเส้นทางในการดำเนินการชีวิต ที่ต้องเดินตามเส้นทางนั้น  เพื่อเป็นภาพเตียนสติไม่ให้หลงทาง
จุดมุ่งหมายที่สูงสุด คือ การตั้งปณิธานทางตน หรือว่าความที่บ่งบอกถึงเป้าหมายส่วนบุคคล และคำปณิธานของครอบครัว
คำปณิธาน ประกอบด้วย 2 ประการ คือ
วิสัยทัศน์  คือ เป็นเป้าหมายที่คุณต้องการให้เป็น ตามที่คุณต้องการ
ค่านิยม ที่มีหลักการเป็นศูนย์กลาง คือ หลักการที่เดินตามเป้าหมายนั้น เพื่อว่าจะทำอย่างไร ให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ

วิสัยทัศน์ ต้องใช้สติ  จิตวิญญาณ ความรู้ ความพยายาม ความถ่อมตน  พรสวรรค์ การเปิดใจ และจิตสำนึกเป็นส่วนสูง ต้องใช้เวลาในการฟังเสียงจากตัวเอง ต้องเรียนรู้จากความรู้สึก ชอบในสิ่งใด นึกคิด หรือสิ่งที่คิดถึงหรือสิ่งที่ต้องการมากที่สุดในชีวิต และจากผู้อื่นที่มองเห็นศักยภาพในตัวคุณ พยายามรับรู้ ความสามารถที่ผู้อื่นมีต่อตัวคุณ พยายามศึกษาจากผู้อื่นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ และค้นหาว่าอะไรที่คุณชื่นชมในตัวของพวกเขาเหล่านั้นคืออะไร พยายามทำอย่างต่อเนื่อง และนึก

ข้อห้าม ในการสร้างวิสัยทัศน์
1.  อย่ารีบร้อนเขียนมันขึ้นมา
2.  อย่าพยายามทำให้มันสำเร็จในเมื่อตอนเริ่มแรก
3.  อย่าด่วนลงมือปฏิบัติในทันทีทันใด
4.  ให้พยายามสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
5.  อย่าละเลยมัน เขียนมันติดไว้ที่คุณนั้นเห็นบ่อยๆ และทำการประเมินพฤติกรรมของคุณในทันที เพื่อดูว่าคุณสามารถทำได้ดีแค่ไหน และส่วนไดที่คุณสามารถทำให้ดีขึ้น

อุปนิสัยที่ 3
ทำสิ่งที่สำคัญก่อน

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอุปนิสัยที่ 3 คือ การทำสิ่งที่รองลงมาจากสิ่งที่สำคัญก่อน และทำสิ่งที่สำคัญที่สุดทีหลัง
          อุปนิสัยที่ 3 เป็นอุปนิสัย ของการมีวินัย และการให้คำมั่นสัญญาต่อสิ่งต่างๆ  ดังนั้นจึงเป็นอุปนิสัยของความซื่อสัตย์ หรือเป็นการทำต่อสิ่งที่พูด จึงเป็นบททดสอบที่แท้จริงต่อวุฒิภาวะของเรา 
         
          เป็นหลักการของการบริหารเวลา ในการทำสิ่งที่สำคัญก่อน

          หัวใจที่สำคัญ คือ การมีกรอบความคิด วิธีการคิดที่มุ่งเน้นที่ ความสำคัญมากว่าเวลางาน  ความสัมพันธ์ที่อยู่ภายใต้เวลา  กรอบอ้างอิงใหม่ ความสำคัญใหม่ วิธีการหนึ่งที่ดีมากๆ อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของคุณ อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการที่สุดในชีวิตของคุณ  เขียนรายละเอียดออกมาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้รู้ถึงขั้นตอนในการจัดเรียงลำดับของความสำคัญ ก่อน หลัง กิจกรรมที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคุณที่คุณต้องเก็บรักษาไว้ ที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ นี้เอง หากทำได้อย่างดีเลิศ ก็จะเกิด ผลลัพธ์อย่างไม่หน้าเชื่อ ในความหมายจริงๆ
          ความสำคัญ จะมาจากภายในตัวของคุณเอง คำปณิธาน ค่านิยม วิสัยทัศน์ ที่ได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้น ความสัมพันธ์  จะออกมาจากภาพในของตัวเอง  เมื่อคุณให้ทุกอย่างเป็นเป้าหมายของหลักการ ก็จะเกิดผลสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ
          ความเร่งด่วน จะเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณ มันจะกดดันคุณ มันอาจฝังลึกอยู่ในสังคม และต้องตัดสินใจแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริงในชีวิตของคุณ
          ถ้าคุณได้ผลลัพธ์ หรือสิ่งที่คุณต้องการอย่างดีเลิศแล้ว นั้นและคือสิ่งที่ทำให้คุณได้รู้ถึงความประสบถึงความสำเร็จ ของการจัดการความสำคัญอย่างแท้จริง ในตารางเวลา ปกติแล้วคุณจะสังเกตว่ามันจะมีทั้งความเร่งด่วนและความสำคัญในเวลาเดี่ยวกัน

          การแบ่งตารางเวลาในการทำงาน  จะแบ่ง ออกเป็น 4 พื้นที่
                   พื้นที่ 1 สำคัญและเร่งด่วน   ต้องทำเป็น อันดับแรก
                   พื้นที่ 2 สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ต้องทำเป็นอับดับรองลงมา
                   พื้นที่ 3 ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน  ไม่จำเป็นไม่ต้องทำก็ได้
                   พื้นที่ 4 ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน  ไม่ต้องทำเลย
v ต้องละเว้นพื้นที่ 3 และ 4 จึงจะทำให้งานที่เราทำบรรลุเป้าหมายอย่างสูงสุด

อุปนิสัยที่ 4
คิดแบบชนะชนะ

คือ หัวใจสำคัญของทุกความสำคัญ  กล่าวคือ อุปนิสัยของผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นอุปนิสัยของกฎแห่งความสำเร็จ  เป็นอุปนิสัยของแนวคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีมากเพียงพอสำหรับทุกคน  ดังนั้น คุณก็จะไม่ถูกคุกคราม  แต่ที่ส่วนมากจะมีแนวคิดในการแบ่งคั่วอย่างชัดเจน
คิดแบบชนะชนะ หลักการคือตัวควบคุม ถ้าสถานการณ์มีแต่ความดุเดือด รากฐานของการมีแนวคิดแบบชนะชนะ เกิดจากส่วนลึกของชัยชนะส่วนตน ในนิสัยที่ 1, 2, 3 หากชัยชนะส่วนตนเกิดขึ้นอย่าง  เกิดจากหลักการของการคิดแบบใจกว้างไม่ใช่คิดแบบใจแคบ  จะมองปัญหาต่างไปจากเดิม เข้าใจในปัญหามากกว่าเดิม มองเห็นสิ่งใหม่ๆ มากกว่าเดิม เป็นผลมาจากความคิดแบบใจกว้าง
         
การคิดแบบใจกว้าง คือการที่คุณพยายามสร้างจิตวิญญาณ แห่งความเอื้อเฟื้อ เผื่อแพร่ สร้างความดีให้กับตัวเรา จากนั้นจึงเป็นการ สร้างความสัมพันธ์ ต่อบุคคลอื่น เพื่อที่คุณจะสามารถสร้างผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการชนะทั้งสองฝ่าย ต่อมาคุณจึงพยายามสร้างสภาพรอบตัว  ที่เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์นั้น บนพื้นฐานของแบบชนะชนะ

อุปนิสัยที่ 5
เข้าใจผู้อื่นก่อน  แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา

คือ ให้ผู้อื่นเข้าใจเรา  เพราะนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นความต้องการมนุษย์ ที่ต้องการได้รับความรัก ต่อผู้อื่น เพราะต้องการมีชีวิตเพื่ออยู่ เพื่อรัก เพื่อเรียนรู้ และเพื่อสร้างตำนาน และทุกคนต้องการสิ่งเหล่านี้

หลักสำคัญ คือ การกระทำที่มีความแตกต่างกัน คนส่วนใหญ่ คิดถึงงานที่ต้องมีประสิทธิภาพ ทุกคนพยายามหาทางออก เพื่อที่จะทำอย่างไรให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด สนใจแต่งานเป็นหลักไม่ค่อยสนใจต่อความคิดของบุคคลรอบข้าง จึงทำให้ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆเข้ามา จึงอาจจะทำให้งานที่ทำนั้นออกมาไม่ดีได้

คุณลักษณะที่เป็นเลิศ ในการเข้าใจผู้อื่น คือ การเข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา จำเป็นต้องมีความเข้มแข็งทางอารมณ์  ต้องใช้ความอดทน การเปิดใจ ต้องมีความปรารถนาที่จะทำความเข้าใจ

อุปนิสัยที่ 6
ผนึกพลังประสานความต่าง

หมายถึงผลลัพธ์ ของความมุ่งมั่นคิดแบบชนะๆ  และเข้าใจผู้อื่นก่อนจะเข้าใจเรา  คนเราจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกันด้วยความจริงใจ มีการเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน  แล้วความคิดใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้น ก่อกำเนิดเป็นกำลังสร้างสรรค์  เป็นกำลังที่เกิดขึ้นต่อทั้งสองฝ่าย  และเกิดขึ้นระหว่างพวกเขา เป็นการสร้างสรรค์ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้อย่างง่ายขึ้น
อุปนิสัยที่ 7
ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ

เป็นอุปนิสัยที่มุ่งเน้น ถึงการผลิต เป็นอุปนิสัย ของการเติมพลังชีวิต

ตรงข้าม ต่อการลับเลื่อยให้คม  คือ การปล่อยปละละเลยจนกระทั่งใบเลื่อยทื่อ จนกระทั่งสมองทึบ จิตวิญญาณไร้ความรู้สึก ร่างกายเต็มไปด้วยความอ่อนล้า ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่สูญเสีย

การลับเลื่อยให้คม คือ การรับรองว่าฉันจะเติมพลังชีวิตให้กับตนเอง อย่างมีสมดุล สิ่งนี้คือแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การได้รับผลที่ดีขึ้น  เช่นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ การฝึกทักษะในการควบคุมความเครียด  การสร้างความรู้สึกถึงความหมาย การสร้างความรู้สึกถึงเป้าหมาย และความรู้สึกถึงความซื่อสัตย์ ต่อค่านิยมของตนเอง  การได้ทำงานที่มีความหมายทำให้เกิดความอิ่มเอมใจ ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีมากขึ้น  ในการับมือกับความจริงของชีวิต

          การเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง เราต้องอ่านอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้เข้าใจอย่างหลากหลาย  การเข้ารับการสัมมนา การเข้าฝึกอบรม เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก การเพิ่มพูน ความรู้ในทุกรูปแบบถึงความมีความ  ความรู้สึกถึงค่านิยมของส่วนตน 
         
การตั้งวิสัยทัศหรือการ ปณิธานต่างๆ ต้องมีการเขียนให้ฝังแน่นในตัวคุณ  และต้องกลับไปสำรวจดูมันอย่างสม่ำเสมอ มันมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันบ้างหรือไม่  ต้องพยายามทำให้มันเป็นหลักการที่ยืนยงตลอดไป  มีความชัดเจนในตัวมันเอง บางครั้งช่วยให้เรารู้สึกดี บางทีก็สามารถเติมพลังชีวิตได้จากสิ่งนี้
          ความกล้า การมีความกล้าในยามสิ่งที่คุณยากลำบาก จะทำให้จิตสำนึกของคุณค่อยๆเข้มแข็ง มันจะทำให้ก้าวไปสู่ความห้าวหาญทางสังคมเช่นเดียวกัน สามารถเรียนรู้ หรือปฏิเสธต่อสิ่งไม่ดี สิ่งล่อลวง รวมทั้งการประนีประนอมทุกรูปแบบ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น