วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสภาวะผู้ตาม



Robert Kelly (1992) จำแนกรูปแบบผู้ตาม (Followership pattern) เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
ผู้ตามแบบเฉื่อยชา (Sheep)
หมายถึง ผู้ตามที่เชื่องช้า ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พยายามพึ่งพาตนเอง  ทำงานตามคำแนะนำและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายโดยไม่คิดที่จะเริ่มเอง  ทำงานให้แล้วเสร็จในลักษณะ เช้าชาม เย็นชามเป็นผู้ตามที่ถูกชักจูงได้ง่าย
ผู้ตามแบบยอมตามเห็นด้วยเสมอ (Conformist หรือYes people)
หมายถึง ผู้ตามที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์และไม่มีความคิดริเริ่ม รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา จึงเห็นด้วย คล้อยตาม น้อมรับ และทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยมิโต้แย้งใดๆไม่ติดตามผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่ตนเองได้กระทำ
ผู้ตามแบบรู้รักษาตัวรอด (Survivors)
หมายถึง ผู้ตามที่ทำตัวเหมือนน้ำ คอยปรับตนเองให้อยู่รอดอย่างปลอดภัยในทุกๆสถานการณ์ เข้าทำนอง รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
ผู้ตามแบบปรปักษ์ (Alienated followers)
หมายถึง ผู้ตามที่ชอบอิสระ พยายามพึ่งพาตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดริเริ่ม  แต่ขาดศิลปะในการแสดงบทบาทของผู้ตามให้เหมาะสมกับกาลเทศะ  โดยแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา  ไม่ประนีประนอม  คอยจับผิดและวิจารณ์ผู้บังคับบัญชา
ผู้ตามที่มีประสิทธิผล (Effective followers)
หมายถึง ผู้ตามที่มีความเพียรพยายาม ชอบอิสระ สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ  คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ตนเอง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออก  มีความสามารถในงาน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภักดี ให้ความร่วมมือ มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดริเริ่มสูง  จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา
ผู้ตามประเภทนี้เป็นบุคคลที่มีภาวะผู้ตาม (Followership) หรือเป็นผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง (Exemplary followers)...” และ Robert Kelly (1992) ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers) ว่ามีคุณลักษณะที่ประกอบด้วย
1.       สามารถในการจัดการตนเอง (Self-management) หมายถึง สามารถควบคุมตนเอง  พึ่งพาตนเอง และสามารถทำงานด้วยตนเองโดยปราศจากการนิเทศใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชา
2.       มุ่งมั่นในการทำงาน อุทิศตนเพื่องาน และตั้งใจทำงาน(Commitment)
3.       พัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด(Build competence and Focus effort)
4.       มีความกล้า(Courageous) หมายถึงกล้าแสดงออก  กล้าแสดงความคิดเห็น  กล้าตัดสินใจและกล้ายอมรับความผิดพลาดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ รวมทั้งพร้อมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น…”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น