วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

การสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ( Effective Communication )



Effective Communication
การสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การสื่อสาร คือ  การที่ต้องการส่งข้อความที่เราต้องการให้กับอีกฝ่าย ให้ได้รับข้อมูลที่ตรงตามที่เราต้องการ

การเข้าถึงคน 4 ประเภท
1.                   Analytical (นักวิเคราะห์) คือ คนประเภทที่มีแบบแผนในตัวเอง  มีความต้องการในข้อมูลที่มีความละเอียดสูง ชอบข้อมูลที่มีความชัดเจนและถูกต้อง
·       การตัดสินใจ : มักคิดในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือมั่นใจในสิ่งนั้นที่สุด แล้วเท่านั้น
·       การทำงาน : ชอบทำงานคนเดียว มีขั้นตอนในการทำงาน ถ้าทำเป็นกลุ่มจะไม่ค่อยชอบ
·       ความสามารถ : มองในสิ่งที่คนอื่น มักจะมองไม่เห็น เช่น คำที่ควรใช้ หรือช่องโว่ในการทำงาน
·       ข้อเสีย :  ตัดสินใจช้า, ไม่ค่อยคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น
·       วิธีแก้ปัญหา : ต้องให้เวลาในการตัดสินใจ และมีข้อมูลที่พร้อม
2.                   Amiable Style (ตามความคิด) คือ เป็นบุคคลที่ยอมรับได้ทุกอย่าง  ทำได้ทุกอย่างเองได้  ตามใจคนอื่นก่อนเสมอ ไม่ชอบคิดเอง
·       การตัดสินใจ : มักคิดตามผู้อื่น ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง > ทำให้ตัดสินใจช้า
·       การทำงาน : ทำงานได้ตามความต้องการ  นึกถึงคนอื่นก่อนเสมอ  รับได้ทุกอย่าง
·       ความสามารถ : การเข้าหาคนได้ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง
·       ข้อเสีย :  ตัดสินใจช้า, ไม่กล้าปฏิเสธ, เวลาน้อยทำงานไม่เสร็จ,  ไม่ค่อยมีความคิดเป็นของตัวเอง
·       วิธีแก้ปัญหา : ต้องใช้คำพูดที่ทำให้เขามั่นใจว่าทำสิ่งนั้นให้เราได้หรือไม่ได้  ให้เขากล้าที่จะปฏิเสธ
3.                   ระดับพึ่งพาซึ่งกันและกัน (สูง) คือ คนที่อยู่ในระดับนี้จะคิดว่าพวกเราเสมอ เพราะนี้คือรูปแบบที่สนับสนุนให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็น และช่วยกันสร้างความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน สามารถช่วยกันสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้
v : หากคุณและผมไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ก็จะไม่สามรถพึ่งพากันและกันได้

หลักการ คือ กฎธรรมชาติ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ตอนเรียนหนังสือไม่ได้สนใจเรียนเลย แต่ยามตอนสอบต้องมานั่งอดหลับอดนอน ไม่มีใครได้ดีจากเหตุการณ์นี้ เราไม่ได้เป็นคนควบคุมทุกสิ่ง ทุกๆอย่างย่อมมีหลักการซึ่งเป็นตัวในการควบคุม และเป็นไปตามหลักการ บ่อยครั้งที่เราได้ยินในสังคมทั่วไป คือ เราต้องควบคุมมันให้ได้ หรือคุณคือผู้กำหนดชะตาชีวิตของคุณเอง ในคำพูดเหล่านี้ แท้จริงแล้วคุณไม่ได้เป็นผู้ควบคุม  แต่หลักการต่างหากที่เป็นผู้ควบคุม ถ้าเรายอมรับและทำตามหลักการ นั้นแหละคือความหมายของการควบคุม

สุภาษิต ชาวตะวันออก : ให้ปลาแก่เขาตัวหนึ่ง เท่ากับให้อาหารกับเขาวันนั้น แต่ถ้าสอนให้เขาตกปลาเท่ากับ ให้อาหารกับเขาตลอดชีวิต

กรอบความคิด เกิดจาก ค่านิยม อุปนิสัย ซึ่งจะอยู่ภายใต้ของหลักการ เป็นตัวกำหนดภาพจากความคิดที่คุณมีอยู่ในใจ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และภูมิหลังของเราเอง คนเรามองโลกในสิ่งที่เราเป็น จากความคาดหวังบางสิ่งบางอย่างจากสิ่งต่างๆ  ในความจริงภายนอกและทำให้เราคิดว่า สิ่งต่างๆ มันเป็นแบบนั้น  สรุปคือ กรอบแนวคิดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จงจำไว้ว่า เมื่อบทบาทเปลี่ยน มุมมองของโลกนี้ก็เปลี่ยนไปด้วย (เมื่อเป็นผู้นำ หรือเมื่อได้ค้นพบตัวเอง)

ประสิทธิผลของความสำเร็จ  คือ ความมีพร้อมทุกอย่าง
1.       การได้ในสิ่งที่ต้องการ
2.       การได้รับในแบบที่คุณต้องการอย่างต่อเนื่องอย่างครั้งแล้วครั้งเล่า เราเรียกสิ่งนี้ว่าความสมบูรณ์ของสิ่งที่ได้รับ ทุกๆอย่างต้องใช้เวลา ความอดทน ความพยายาม ความเอาใจใส่ และเงินด้วย

หลักแนวความคิด  ทุกคนต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นคนล้าหลัง ถ้าเราไม่พยายามหาความรู้เพิ่มเติมในการพัฒนางานในสายงานที่เราทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะต้องรู้ในสิ่งที่ตนต้องทำ หรือไม่ควรระเลยปล่อยวาง ทุกๆ สิ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
  
7 อุปนิสัย เกิดจากองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ความรู้ ทักษะ และความปรารถนา
1.       ความรู้จะเป็นส่วนของภาคทฤษฎี คือ เราจะทำอะไร และทำไมเราถึงทำสิ่งนั้น
2.       ทักษะจะเป็นส่วนของภาคปฏิบัติ คือ เราจะทำสิ่งนั้นอย่างไร
3.       ความปรารถนา เป็นเรื่องของแรงจูงใจ เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นจริง

คติเตือนความจำ จงจำไว้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ สิ่งที่สำคัญต้องเอาชนะตัวเองให้ได้ ในทุกๆวัน ต้องแรกมาด้วยความพยายามอย่างนัก ต้องมีความอดทนอย่างสูง ต้องมุ่งมั่น และฝึกฝนตลอดเวลา เพื่อให้สามรถเก็บเกี่ยวผลลัพธ์อันงดงาม ที่เกิดจากอุปนิสัย เหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น